นักมวยไทยที่มีค่าตัวแพงที่สุด
นักมวยไทยที่มีค่าตัวแพงที่สุด เพื่อนๆหลายคนที่ชื่นชอบมวยไทยคงอยากรู้เรื่องค่าตัวนักมวยแต่ละคนว่าจะได้น้อยได้มากแค่ไหนกันใช่ไหม วันนี้เราได้ทำการค้นหานักมวยไทยที่ได้ค่าตัวสูงมาให้รับชมกัน
นักมวยเด็ก ต่อยตามวัด งานประเพณีต่างๆตามต่างจังหวัดนั้น ค่าตัวโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ไฟต์และ 300-2500 บาท ขยับขึ้นมาหน่อยเมื่อเด็กเหล่านั้นเริ่มฝึกฝนประสบการณ์เยอะขึ้น ขยับเดินสายต่อยเวทีระดับรองๆประเทศ กระทั่งไปสู่เวทีมวยมาตรฐานของประเทศอย่าง ราชดำเนิน ลุมพินี เป็นต้น นักมวยไทยชื่อดังในปัจจุบันขึ้นต่อยในเมืองไทยในยุคนี้ อย่างเก่งค่าตัวอยู่ที่ 200,000-250,000 บาท ต่อไฟต์ เพราะผู้จัดเองก็ประสบปัญหาขาดทุนจากยอดจำหน่ายตั๋ว ยิ่งถ้านำนักมวยไทยชื่อดังมาขึ้นเวทีเป็นคู่เอกของรายการนั้นๆ ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเป็นทวีคูณ ดังนั้นยอดนักมวยไทยหลายๆคนที่ยังต่อยอยู่จึงเลือกที่จะหันเหเส้นทางไปเซ็นสัญญาขึ้นเวทีต่อยต่างประเทศอย่างเช่น จีน มาเก๊า ฮ่องกง ญี่ปุ่น เป็นต้น

อันดับนักมวยไทยที่ค่าตัวสูง ได่แก่
เสกสรร อ.ขวัญเมือง 400,000 บาท
แสงมณี ส.เทียนโพธิ์ 500,000 บาท
แสนชัย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม 800,000-1,000,000 บาท
แก้ว แฟร์เท็กซ์ 1,000,000 บาท
ยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์ 1,200,000 บาท
สิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้อง 1,500,000 บาท
บัวชาว บัญชาเมฆ 4,000,000 บาท
ก็จบไปแล้วกับบทความ นักมวยไทยที่มีค่าตัวแพงที่สุด รู้ช่องทางทำเงินขนาดนี้แล้วใครมีความฝันและชื่นชอบศิลปะการต่อสู้มวยไทยก็ฝึกซ้อมร่างกายให้แข็งแรงทนทานกันเยอะๆนะ

เพิ่มเติมแม่ไม้มวยไทย
หมายถึง ท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยที่สำคัญที่สุด อันเป็นพื้นฐานของการใช้ไม้มวยไทย ซึ่งผู้ฝึกมวยไทยต้องเรียนรู้ และปฏิบัติให้ได้ก่อนที่จะฝึกลูกไม้ถือว่าเป็นการใช้ไม้มวยไทยที่ละเอียดขึ้น บูรพาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิได้จัดแบ่งแม่ไม้มวยไทยออกเป็น 15 ไม้ ได้แก่
1.สลับฟันปลา
2.ปักษาแหวกรัง
3.ชวาซัดหอก
4.อิเหนาแทงกริช
5.ยอเขาพระสุเมรุ
6.ตาเถรค้ำฝัก
7.มอญยันหลัก
8.ปักลูกทอย
9.จระเข้ฟาดหาง
10.หักงวงไอยรา
11.นาคาบิดหาง
12.วิรุฬหกกลับ
13.ดับชวาลา
14.ขุนยักษ์จับลิง
15.หักคอเอราวัณ
1. สลับฟันปลา (รับวงนอก)
แม่ไม้นี้ เป็นไม้หลักหรือไม้ครูเบื้องต้น ใช้รับและหมัดตรงของคู่ต่อสู้ที่จะชกนำ โดยหลบออกนอกลำแขนของคู่ต่อสู้ทำให้หมัดเลยหน้าไป
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่หมายใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาหลบไปทางกึ่งขวา 1 ก้าว พร้อมทั้งโน้มตัวเอนไปทางขวาประมาณ 60 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา ขาขวางอเล็กน้อยศีรษะและตัวหลบออกวงนอกของหมัดฝ่ายรุก ใช้มือขวาจับคว่ำมือที่แขนท่อนบนของฝ่ายรุก มือซ้ายจับกำหงายที่ข้อมือของฝ่ายรุก (ท่าคล้ายจับหักแขน)
2. ปักษาแหวกรัง (รับวงใน)
แม่ไม้นี้เป็นไม้ครูของการเข้าสู่วงในเพื่อใช้ลูกไม้อื่นต่อไป
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่หน้าฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าสืบไปข้างหน้าเฉียงไปทางกึ่งซ้ายเล็กน้อยภายในแขนซ้ายของฝ่ายรุก ตัวเอนประมาณ 30 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าซ้ายพร้อมกับงอแขนทั้ง 2 ขึ้นปะทะแขนท่อนบนและแขนท่อนล่างของฝ่ายรุกไว้โดยเร็ว หมัดของฝ่ายรับทั้งคู่ชิดกัน (คล้ายท่าพนมมือ) ศอกกางประมาณ 1 คืบ ศีรษะและใบหน้ากำบังอยู่ระหว่างแขนทั้งสอง ตาคอยชำเลืองดูหมัดขวาของฝ่ายรุก
3. ชวาซัดหอก (ศอกวงใน)
แม่ไม้นี้ใช้เป็นหลักสำหรับหลบหมัดตรงออกทางวงนอกแล้วโต้ตอบด้วยศอก
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงบริเวณที่ใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าเอนตัวไปทางกึ่งขวา ตัวเอนประมาณ 30 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา พร้อมงอแขนซ้ายใช้ศอกกระแทกชายโครงใต้แขนของฝ่ายรุก
4. อิเหนาแทงกริช (ศอกวงใน)
แม่ไม้นี้เป็นหลักในการรับหมัดตรง และใช้ศอกเข้ารุกวงใน
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดขวาตรงบริเวณหน้าฝ่ายรับ
ฝ่ายรับ ใช้มือซ้ายปัดหมัดขวาของคู่ต่อสู้ให้เลยพ้นไปแล้ว รีก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าตัวเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อย ตัวเอนประมาณ 60 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา งอศอกขวาขนานกับพื้น ตีระดับชายโครงฝ่ายรุก
5. ยอเขาพระสุเมรุ (ชกคางหมัดต่ำก้มตัว 45 องศา)
แม่ไม้นี้ ใช้รับหมัดตรงในลักษณะก้มตัวเข้าวงในให้หมัดผ่านศีรษะไปแล้วชกเสยคาง
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่หมายใบหน้าฝ่ายรับ พร้อมก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาพร้อมกับย่อตัวต่ำเข้าหาฝ่ายรุก งอเข่าขวาแขนซ้ายตึงย่อตัวต่ำเอนไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวาแล้วให้ยืดเท้าขวายกตัวขึ้นพร้อมกับพุ่งชกหมัดขวาเสยใต้คางของฝ่ายรุก หน้าเงยดูคางของฝ่ายรุก แขนซ้ายกำบังอยู่ตรงหน้าเสมอคาง
6.ตาเถรค้ำฝัก (ชกคางหมัดสูงก้มตัว 60 องศา)
แม่ไม้นี้ เป็นหลักเบื้องต้นในการป้องกันหมัดโดยใช้แขนปัดหมัดที่ชกมาขึ้นข้างบน
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่บริเวณใบหน้าฝ่ายรับ
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้าทางกึ่งขวาเข้าวงในของฝ่ายรุก แล้วใช้แขนขวา งอป้องหมัดซ้ายที่ชกมาปัด ขึ้นให้พ้นตัวงอเข่าซ้ายเล็กน้อยใช้หมัดซ้ายชกใต้คางของฝ่ายรุก
7. มอญยันหลัก (รับหมัดด้วยถีบ)
แม่ไม้นี้ เป็นหลักสำคัญในการรับหมัดด้วยการใช้เท้าถีบยอดอก หรือท้อง
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับก้าวท้าวซ้ายไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ โยกตัวเอนไปทางขวาเอนตัวหนีฝ่ายรุกประมาณ 45 องศา ยืนบนเท้าขวา แขนทั้งสองยกงอป้องตรงหน้า พร้อมกับยกเท้าซ้ายถีบที่ยอดอกหรือท้องของฝ่ายรุกให้กระเด็นห่างออกไป
ผู้สนับสนุนหลัก สล็อตออนไลน์ มวยนิวส์